วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ฆ่าหั่นศพครูสาว! เล่นแชทเพื่อหาครูสอนเด็ก

ฆ่าหั่นศพครูสาว! เล่นแชทเพื่อหาครูสอนเด็ก

หนุ่ม-สาวนักแชท เผยประสบการณ์แชท พร้อม "เตือนภัย" โลกไซเบอร์ ระบุตรงกัน ไม่จำเป็น "อย่าเสี่ยง" นัดเจอเพื่อนแชทข้างนอก ระบุปกปิดข้อมูลส่วนตัว-ไม่ใช้รูปจริง หวั่นภัยถึงตัว

คดีสยองขวัญที่ นายโมฮัมหมัด อารีฟ อายุ 34 ปี ชาวปากีสถาน ก่อเหตุฆ่าหั่นศพ น.ส.ดิสนีย์ ทองนาคแท้ อายุ 28 ปี ครูสอนภาษาอังกฤษ สร้างความสลดใจไปทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็กลายเป็น "อุทาหรณ์" สอนใจบรรดา "นักแชท" ที่ชอบติดต่อสื่อสารหาเพื่อนใหม่ในโลกไซเบอร์ได้เป็นอย่างดี

ป าณิสรา คงดี วัย 21 ปี สาวนักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่ง ยอมรับว่า ตอนที่ได้ยินข่าวนี้ครั้งแรกรู้สึกตกใจมาก เพราะขณะนี้เธอเองคุยอยู่กับ "หนุ่มสเปน" คนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนชาติเดียวกับที่นายโมฮัมหมัดแอบอ้าง เพื่อหลอกลวงครูสาว ส่วนความสัมพันธ์ก็กำลังดำเนินไปด้วยดี และหนุ่มคนนี้ก็เป็นหนึ่งในเพื่อนทางอินเทอร์เน็ตหลายๆ คนที่เธอพูดคุยด้วย โดยแต่ละคนนั้นเป็น "ชาวต่างชาติ" ทั้งหมด

ปาณิสรา ให้เหตุผลว่า สาเหตุที่เลือกคุยเฉพาะชาวต่างชาติ เพราะต้องการ "ฝึกภาษาอังกฤษ" โดยเน้นไปที่ชาวเอเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น ฯลฯ รองลงไปก็จะเป็นแถบยุโรป แต่เวลาคุยกันจะไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว ยกเว้นเรื่องอายุ เพศ และส่วนสูง แต่จะไม่บอกน้ำหนัก เพราะไม่มั่นใจในเรื่องรูปร่างหน้าตาของตัวเอง

ผู้ชายที่เข้ามาคุยด้วยแต่ละชาติก็จะแตกต่า งกันออกไป อย่างแถบตะวันออกกลางจะมาในแนวลามก ชวนคุยเรื่องเซ็กส์ บางรายถึงกับโชว์การมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางเวบแคมแล้วพูดจาหว่านล้อมให้เราถาม เพื่อให้เขาเกิดอารมณ์ทางเพศ ส่วนฝั่งเอเชียอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน หรือจีน จะสุภาพ และพูดจาดีกว่า" นักศึกษาสาวรายนี้ แจกแจงถึงความแตกต่างของหนุ่มไซเบอร์แต่ละสัญชาติ

นอก จากนี้ แม้ทุกคนที่เข้ามาคุยด้วยจะโพสต์รูปเข้ามา แต่เธอก็ไม่ปักใจเชื่อว่าเป็นรูปจริง เพราะเคยเจอชาวต่างชาติคนหนึ่งเอารูปดาราไทย ซึ่งเธอรู้จักดีมาโพสต์แล้วอ้างว่าเป็นรูปตัวเอง

ปาณ ิสรา ยอมรับด้วยว่า "ติดแชท" มาก โดยจะเล่นแทบทุกวัน ส่วนผู้ปกครองก็รู้ และเคยเตือนอยู่บ่อยๆ แต่เธอก็ไม่คิดจะนัดพบเพื่อนแชทข้างนอก เพราะยังไม่มั่นใจว่าจะเข้ากันได้เหมือนที่คุยในอินเทอร์เน็ตหรือไม่ และกลัวว่าจะเกิดอันตรายขึ้นอย่างที่เป็นข่าวบ่อยๆ

" ถ้าเขาคิดจะคุยกับเรานานๆ ก็คงเข้ามาดีๆ อาจจะคุยแบบเพื่อนธรรมดาก่อนแล้วค่อยคุยเรื่องอื่น เช่น เรื่องส่วนตัวหรือเรื่องครอบครัว ไม่ใช่ว่าคุยกันไม่กี่วันก็นัดเจอ เราจะไปไว้ใจได้ยังไง ยิ่งเป็นชาวต่างชาติด้วย ขนาดคนไทยด้วยกันบางคนยังไว้ใจไม่ได้เลย" สาวนักแชท กล่าวทิ้งท้าย

ด ้าน ผไท บริสุทธิ์ อายุ 23 ปี หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง กล่าวว่า ส่วนมากจะคุยกับเพื่อนทางเอ็มเอสเอ็นแบบวันต่อวัน แต่ไม่เคยคุยติดต่อกับใครนานๆ พอคุยเสร็จก็ลบทิ้ง ยกเว้นบางคนที่เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกันก็อาจจะเก็บไว้ เพราะเห็นว่าการคุยกันทางอินเทอร์เน็ตคง "หาความจริงใจได้ยาก" เพราะไม่ได้เจอกันซึ่งๆ หน้า และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เขาไม่เคยใช้ข้อมูลจริงคุยกับอีกฝ่ายเลย

" อย่างเรื่องที่เรียนก็ผมจะบ อกว่าเรียนอยู่มหาวิทยาลัยอื่นหรือคณะอื่น แต่สำหรับรูปที่ใช้จะเป็นดิสเพลย์พิคเจอร์ ซึ่งถือว่าสำคัญมาก เพราะบางคนถ้าไม่เห็นรูปจะไม่ยอมคุยด้วยเลย ส่วนผมถ้ามีคนแปลกหน้าแอดเขามาก็จะเอารูปคนอื่นมาเปลี่ยนทันที" ผไท เผยถึงเทคนิคการแชทเฉพาะตัว

ส่วนการนัดเจอกับเพื่อนแชท หนุ่มรายนี้ บอกว่า แม้จะเป็นผู้ชาย แต่จะไม่ขอไปเจอกันเองเด็ดขาด เพราะรู้สึกว่า "ไม่ปลอดภัย"

ข ณะที่ นครธรรม เจริญรูป อายุ 23 ปี หนุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยอีกคน บอกว่า จะเลือกคุยเฉพาะ "คนไทย" เพราะไม่รู้ว่าต่างชาติจะคิดกับเราอย่างไร อีกทั้งไม่ค่อยเก่งภาษาอังกฤษ

"ส่วนมากผมจะเลือกคุยก ับเพื่ อนวัยเดียวกัน และเป็นเพศตรงข้ามมากว่า ถ้าเป็นคนแปลกหน้าก็จะคุยด้วย แต่จะไม่จริงจัง ส่วนรูปที่โพสต์เอาไว้ผมไม่เคยเชื่อถือ เพราะคงไม่มีใครกล้าเอารูปจริงมาโพสต์ และส่วนมากเป็นรูปจากที่อื่นหรือรูปแต่งคอมพ์ เพราะทุกคนก็อยากดูดีเสมอ"

ห นุ่มแชทรายนี้ บอกถึงเทคนิคในการแชทว่า จะไม่บอกความจริงทั้งหมด โดยเฉพาะเรื่องข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ ฯลฯ และไม่กล้านัดเจอกันด้วย เพราะไม่มั่นใจว่าคนที่คุยด้วยมีเจตนาบริสุทธิ์หรือไม่

" พ่อแม่ยังไม่รู้เลยว่า ผมชอบแชท แต่จะมีเพื่อนที่คอยเตือนอยู่เสมอ สำหรับผมจะแชทเพื่อหาเพื่อนคุยคลายเครียดมากกว่า และไม่อยากให้คนอื่นจริงจังกับการแชทมากไปจนลืมโลกแห่งความเป็นจริง" หนุ่มนักแชท ฝากทิ้งท้ายไว้ให้คิด

ปิดท้ายด้วย ลัดดาวัลย์ ดาษดื่น นักศึกษามหาวิทยาลัยรัฐชื่อดัง บอกว่า เธอจะคุยกับทุกคนที่แอดเข้ามาคุยด้วย ส่วนมากจะคุยกันในเรื่องทั่วไป และไม่ได้ปกปิดข้อมูลส่วนตัวแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าข้อมูลอย่างอายุ ชื่อเล่น หรือที่เรียน ก็ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องจะปิดบัง เพราะถ้าคู่สนทนามารู้ความจริงทีหลังว่าเราโกหกก็อาจจะทำให้รู้สึกไม่ดีหรือ ถึงขั้นเลิกคุยกันไปเลย

สำหรับเรื่องโพสต์รูปตัวเองน ั้น ลัดดาวัลย์ จะใส่บ้างในบางครั้ง แต่ส่วนมากจะไม่ใส่ โดยจะใส่รูปการ์ตูนน่ารักๆ เข้าไปแทน เพราะกลัวจะไม่ปลอดภัย ส่วนรูปที่คู่สนทนาโพสต์ไว้นั้นก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง โดยจะพิจารณาดูว่าคุยกันนานแค่ไหนมากกว่า ถ้าคนที่คุยด้วยใช้รูปคนๆ เดิมมาตั้งแต่ครั้งแรกที่คุยกันจนกระทั่งคุยกันเป็นเวลานานแล้วยังใช้รูปคนเ ดิมก็น่าเชื่อว่าเป็นรูปของเขาจริงๆ

ลัดดาวัลย์ ยังเล่าถึงประสบการณ์นัดเจอกับเพื่อนแชทด้วยว่า เคยนัดเด็กรุ่นน้องที่เจอกันทางเอ็มเอสเอ็นคนหนึ่งมานานหลายเดือน แต่ครั้งนั้นไม่ได้ใช้ชื่อจริง และโกหกเรื่องที่เรียน โดยคุยกันเป็นประจำทุกวันจนสนิทสนมกันในระดับหนึ่ง จากนั้นก็นัดเจอกันในห้างสรรพสินค้า

"ตอนนั้นไปคนเดี ยว และรู้สึกกลัวมาก แต่พอพบกันแล้วก็รู้สึกผิดหวังเล็กน้อย เพราะเขาไม่ได้รูปร่างหน้าตาดีอย่างที่เห็นในรูปตอนคุยกัน ตอนนี้เราก็ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และยังคุยกันอยู่เป็นประจำ แต่ก็ยังไม่บอกความจริงเรื่องที่โกหกเขาไป" ลัดดาวัลย์ เล่าถึงประสบการณ์เจอเพื่อนแชทครั้งแรก

กระนั้น สาวนักแชทรายนี้ก็ฝากเตือนว่า "การนัดเจอกับคนแปลกหน้าเป็นเรื่องที่ไม่น่าเสี่ยงเลย เพราะอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ และถ้าให้นัดเจอกันอีกคงไม่ไปคนเดียวแน่นอน"

ทั้งหมด นั้นคือประสบการณ์ และอุทาหรณ์ของ "นักแชท" ที่อยากถ่ายทอด และแนะนำเพื่อเป็น "อุทาหรณ์" ไม่ให้นักแชทคนอื่นๆ ต้องมากลายเป็นเหยื่อของ "อาชญากร" ในโลกไซเบอร์

"เจ๊เบียบ" เตือนภัยไซเบอร์ แนะ ยกคอมพ์ไว้นอกห้อง

นางระเบียบรัตน์ พงษ์พานิช รักษาการ ส.ว.ขอนแก่น ให้ความเห็นว่า คดีนี้ผู้ก่อเหตุมีความโหดเหี้ยมมาก จึงสมควรลงโทษให้หนัก โดยก่อนหน้านี้ก็เคยมีคดีหนุ่มชาวปากีสถานล่อลวงเด็กสาวชั้น ม.5 อายุ 17 ปี ไปข่มขืน หลังจากรู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตได้ 3 เดือนจนฝ่ายหญิงเริ่มเกิดความรักใคร่

"ครั้งแรกที่นัดเจอกันฝ่ายชายได้แต่กอดจูบลูบคลำ โดยบอกว่ารัก และจะไม่ทำร้าย แถมให้สัญญาว่า จะพาไปอยู่ด้วยที่ประเทศบังกลาเทศ แต่พอนัดเจอกันครั้งที่สองฝ่ายชายก็พูดจาหว่านล้อมแล้วพาไปข่มขืนในโรงแรม จนผู้ปกครองเริ่มสังเกตเห็นว่า ฝ่ายหญิงมีอาการซึมผิดปกติ จึงเค้นถาม และรู้ความจริง ขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาล" นางระเบียบรัตน์ กล่าวถึงภัยร้ายในโลกไซเบอร์

"พ่อของเด็กคนนี้มาพูดกับดิฉันว่า ตอนที่แม่เขาตายยังไม่เสียใจเท่ากับลูกสาวถูกหลอกไปทำมิดีมิร้าย และไม่น่าเชื่อว่า คำบอกรักของผู้ชายที่เพิ่งรู้จักเพียงคำเดียวเท่านั้น สามารถเผด็จศึกเด็กสาวได้ ดิฉันจึงเชื่อว่า น่าจะมีเด็ก และผู้หญิงไทยที่ถูกล่อลวงแบบนี้อีกหลายคน แต่ไม่มีใครกล้าออกมาเปิดเผย" นางระเบียบรัตน์ กล่าวด้วยความเป็นห่วง

รักษาการ ส.ว.ขอนแก่น มองว่า แม้เทคโนโลยีจะก้าวไปไกล และไร้พรมแดน แถมยังมีข้อดีในแง่ของการฝึกภาษา และได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกัน แต่บางครั้งก็มีโทษ เพราะบางคนอาจถูกหลอกจนเคลิบเคลิ้ม ข้าวปลาไม่ยอมกินจนถึงขั้นที่เรียกว่า "เสพติดทางอารมณ์" จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้

ดังนั้น "ภูมิคุ้มกัน" ที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ก็คือ "พ่อแม่" อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ตามลำพัง

ส่วน "เครื่องคอมพิวเตอร์" อย่าเอาไว้ในห้องนอนของลูก เพราะถ้าอยู่ในนั้นเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าลูกกำลังทำอะไร และควรนำมาไว้ในที่ที่เราสามารถดูได้ว่าลูกกำลังเล่นอะไรอยู่

อัฐพนธ์ แดงเลิศ/สุดารัตน์ คำอาจ


komchadluek

แฉภัยร้าย "แชทไลน์" ลวงเด็กเสียสาว

จากกรณีที่ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ได้ยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการเล่นแชทไลน์ระบบออดิโอเท็กซ์ 1900-xxx-xxx ของเด็กและเยาวชนมายังกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.).."
แฉภัยร้าย "แชทไลน์" ลวงเด็กเสียสาว


ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
จากกรณีที่ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา ได้ยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการเล่นแชทไลน์ระบบออดิโอเท็กซ์ 1900-xxx-xxx ของเด็กและเยาวชนมายังกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เพื่อให้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาแชทไลน์ หาเพื่อนเนื่องจากมีเด็กหญิงอายุประมาณ 15 ปีหายตัวออกจากบ้านภายหลังจากเล่นแชทไลน์สนทนากับบุคคลแปลกหน้า จึงกลายเป็นช่องทางให้อาชญากรใช้เป็นเครื่องมือในการล่อลวงเด็กหญิงมาล่วง ละเมิดทางเพศนั้น


ล่าสุด คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ ปลัด วธ. ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมด่วนที่สุด และให้ประสานไปที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ด้วย

ขณะที่ นายวรเชษฐ เขียวจันทร์ หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายฯ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ศูนย์ข้อมูลคนหายฯ เริ่มทำงาน เป็นศูนย์กลางรับแจ้ง ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับคนหายในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2546 จนถึงปัจจุบันมีเด็กและเยาวชนหายตัวไปด้วยสาเหตุถูกล่อลวงจากการเข้าไป แชทไลน์ จากข้อมูลพบเด็กอายุเฉลี่ยเพียง 15 ปี หายออกจากบ้าน มากถึง 10 คนแล้ว

เ มื่อเร็วๆ นี้ ทางมูลนิธิคนหายฯได้รับแจ้งจากผู้ปกครองลูกของตนได้หนีหายออกจากบ้านไปโดย ไม่ทราบสาเหตุ จากการสอบปากคำปรากฏว่า ก่อนหน้าที่จะหายตัวออกจากบ้าน มีพฤติกรรมใช้โทรศัพท์ บ่อยจนผิดวิสัย เป็นผลให้ค่าโทรศัพท์บ้านแต่ละเดือนมียอดการใช้สูงหลายพันบาท ในใบแจ้งหนี้ยังระบุถึงค่าโทรศัพท์หมายเลขออดิโอเท็กซ์จำนวนมาก โดยตรงกับคำให้การของเพื่อนของเด็กที่ว่า มีพฤติกรรมติดต่อกับคนแปลกหน้า รู้จักกันทางโทรศัพท์ พูดคุยลักษณะเชิงชู้สาว ชักชวนออกมาพบกัน สุดท้ายนัดกับชายแปลกหน้าแล้วหายตัวไป ซึ่งตำรวจได้นำหมายเลขโทรศัพท์

ล่าสุดโทร.ตามหา พบว่ามีเด็กผู้ชายคนหนึ่งรับสาย มีเสียงเหมือนงานเลี้ยงจึงนำเจ้าหน้าที่ตรวจสอบที่บ้านพบว่ามีการมั่วสุม กับกลุ่มวัยรุ่นจำนวนมาก แม้ว่าเด็กจะเรียนจบ ม. 3 และไม่ได้เรียนต่อ แต่ยังคงมีพฤติกรรมชอบแชทไลน์และหายตัวจากบ้านหลายครั้ง

ที่มาจาก thaisafenet.org

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อัลบั้มภาพออนไลน์...เมื่อ สมบัติส่วนตัว กลายเป็นสาธารณะสมบัติ

?เราเองนะ...น่ารักมั๊ยคับ?
?ไบคับ ผม เหงา?

ข้อ ความในลักษณะนี้เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในอัลบั้มภาพออนไลน์ที่ให้ บริการผ่านทางเว็บไซต์สำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ต้องการนำรูปภาพของตน ขึ้นระบบอินเทอร์เน็ต และกำลังได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นเป็นอย่างมาก กระทั่งกลายเป็น ?สมบัติสาธารณะ? ที่ใครๆ ก็สามารถดูได้ มิหนำซ้ำยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมสามารถแสดงความเห็นและโหวตให้คะแนนได้อีก ด้วย


แต่ ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นก็คือ สิ่งที่ปรากฏในอัลบั้มภาพออนไลน์ไม่ใช่แค่ภาพธรรมดาๆ หากจำนวนไม่น้อยใช้ภาพที่แสดงถึงร่างกายของตนเพื่อดึงดูดความสนใจทางเพศ รวมถึงการลงข้อความที่แสดงถึงความต้องการมีเพศสัมพันธ์อีกด้วย

นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์ นักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างละเอียดไว้ในงานวิจัยเรื่อง ?การสร้างอัตลักษณ์ในอัลบั้มภาพออนไลน์? ซึ่งผลที่ออกมาได้สะท้อนให้เห็นถึงภาพตัวตนของวัยรุ่นและผู้คนกลุ่มหนึ่ง ได้อย่างที่คาดไม่ถึงเลยทีเดียว

**ตัวตนของคนขี้เหงากับความจริงที่ถูกบิดเบือน
นราธิปเล่า ให้ฟังว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลอัลบั้มภาพออนไลน์จำนวน 200 อัลบั้ม ในสามเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการ และรูปภาพอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่ www.keepalbum.com, www.jorjae.com (ปัจจุบัน www.jorjae.com ได้ปิดให้บริการลง และได้ย้ายชุมชนส่วนหนึ่งไปยัง www.truelife.net ) และ www.yenta4.com ได้บทสรุปที่น่าสนใจว่า การที่อัลบั้มภาพออนไลน์อนุญาตให้มีการตั้งชื่อ การคัดเลือกเพลง การสร้างภาพแทนตน หรือ การคัดเลือกตัวละคร การแต่งตัวให้ตัวละคร และการเลือกฉากต่างๆได้อย่างอิสระ เป็นการเปิดโอกาสให้เจ้าของอัลบั้มภาพออนไลน์แสดงถึงตัวตนที่แท้จริงของตน เอง

ทั้งนี้ ภาพที่ปรากฏในอัลบั้มภาพออนไลน์มักเป็นภาพที่ถ่ายด้วยตัวเอง (Self ? portrait) ซึ่งสามารถทำได้ด้วยคุณสมบัติการเห็นภาพก่อนถ่ายจริงของกล้องดิจิตอลหรือ ว่าโทรศัพท์มือถือ อีกทั้งการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลสามารถถ่ายใหม่ได้จนกว่าจะได้ภาพที่พอใจ

ที่ น่าสนใจก็คือ ภาพที่นำมาโชว์ส่วนใหญ่จะเลือกเฉพาะภาพที่ถ่ายออกมาแล้วดูดี ทำให้สิ่งที่นำเสนอเป็นเพียงความจริงแค่บางส่วน รวมทั้งมีการตกแต่งภาพก่อนนำภาพเข้าสู่อัลบั้มภาพออนไลน์ เช่นปรับแสง ใส่ตัวอักษร ใส่ลวดลายต่างๆให้กับภาพ และมีการตกแต่งอัลบั้มไปด้วยสีสัน การทำตัวอักษรกระพริบๆ การใช้ภาพเคลื่อนไหวต่างๆซึ่งเป็นการดึงดูดใจรูปแบบหนึ่ง

?จะ เห็นได้ว่าการคัดเลือกความจริงบางส่วน และการตกแต่งภาพ ทำให้ภาพที่ได้ไกลออกจากความจริง ผลจากงานวิจัยพบว่า ตัวตนในอัลบั้มภาพออนไลน์ เป็นการประกอบสร้าง การแปลงตัวตน หรือความเกินจริง ซึ่งไม่เหมือนกับตัวตนในโลกแห่งความเป็นจริง?นราธิปสรุป

สำหรับ กลุ่มคนที่เข้ามาใช้บริการอัลบั้มภาพออนไลน์ส่วนใหญ่มีอารมณ์อ่อนไหว โรแมนติก น่ารักสดใส มีมนุษย์สัมพันธ์ ทั้งยังมีการบรรยายถึงความรักของตนอีกด้วย ส่วนสิ่งที่พบรองลงมาคือ ความต้องการการยอมรับ เห็นได้จากการที่เจ้าของอัลบั้มภาพออนไลน์มักมีการขอคะแนนโหวตให้กับ อัลบั้มภาพออนไลน์ของตน ซึ่งคะแนนโหวตจะเป็นตัววัดการยอมรับจากชุมชนแห่งนี้หรือเป็นเครื่องมือ เพื่อสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นอย่างการหาเพื่อน หรือหาคู่ แทบจะเป็นการใช้งานหลักของอัลบั้มภาพออนไลน์


**การแสดงออกทางเพศเกลื่อน
อย่าง ไรก็ตาม การหาเพื่อนหรือหาคู่รักในอัลบั้มภาพออนไลน์หลายครั้งก็คาบเกี่ยวกับการ แสดงออกถึงพฤติกรรมทางเพศ โดยใช้ภาพที่แสดงถึงร่างกายของตนเพื่อดึงดูดความสนใจทางเพศ รวมถึงการลงข้อความหาเพื่อนที่แสดงถึงความต้องการมีเพศสัมพันธ์ โดยในข้อมูลมักแสดงถึงรสนิยมทางเพศ(Sexuality) ไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มรักร่วมเพศ (Homosexuality) ซึ่งเห็นได้จากหมวดหมู่ที่ทางเว็บไซต์ได้แบ่งไว้ให้ เช่น ผู้ชายสีม่วง สตรีเหล็ก หรือชื่อที่ใช้ก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกได้เหมือนกัน เช่น tomjawchoo, gayray และ dy_sad รวมถึงภาพที่แสดงอย่างการกอดจูบ หอมแก้ม และยังมีกลุ่มที่รักทั้งสองเพศ (Bisexuality) เห็นได้จากข้อความ เช่น ?ไบคับ ผม เหงา?

ส่วนความต้องการแสดงออกนั้น มีหลายระดับตั้งแต่ระดับความต้องการแสดงออกทั่วไป ไปสู่ระดับการเรียกร้องความสนใจ และระดับการแสดงออกทางเพศ ซึ่งหากความต้องการแสดงออกเหล่านี้มีมากจนเกินไป อาจพัฒนาไปสู่ ?พฤติกรรมชอบโชว์? ได้ โดยพบว่าในอัลบั้มภาพออนไลน์ที่ผู้ชายเป็นเจ้าของจะมีภาพที่มีการถอดเสื้อ ผ้า แสดงกล้ามหน้าอก กล้ามหน้าท้อง กล้ามแขน หรือแม้กระทั่งอวัยวะเพศอย่างน้อยหนึ่งภาพ เพื่อแสดงถึงความเป็นชายและหวังผลในการดึงดูดทางเพศ ส่วนในเพศหญิงจะเป็นการแสดงสัดส่วนต่างๆของเพศหญิง เช่น การแสดงเนินอก สะโพก เอว

ทั้งนี้ เจ้าของอัลบั้มภาพออนไลน์ที่เข้าข่าย ?โรคจิตชอบอวดอวัยวะเพศ? มักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ซึ่งจะมีทั้งแบบเห็นหน้าและไม่เห็นหน้า

?ใน อดีตพฤติกรรมชอบโชว์อวัยวะเพศจำกัดอยู่ในที่สาธารณะเท่านั้น โดยต้องมีการชั่งน้ำหนักระหว่างความกลัวกับความกล้าก่อนที่จะลงมือกระทำ ขณะที่ปัจจุบันสามารถแสดงพฤติกรรมดังกล่าวในที่ส่วนตัวแล้วอาศัยสื่ออย่าง อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการเผยแพร่สู่พื้นที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องกังวล? นราธิปให้ความเห็น


**ผันผ่านสู่พื้นที่สาธารณะ
นอก จากนั้น แทนที่ผู้ใช้บริการจะเลือกอัลบั้มภาพออนไลน์ในลักษณะของ อัลบั้มภาพส่วนตัว (Private album) ก็กลับกลายเป็นว่า อัลบั้มภาพสาธารณะ(Public album) ได้รับความนิยมเสียเป็นส่วนใหญ่

?จาก ที่ในสมัยก่อนนั้นเมื่อถ่ายภาพเสร็จแล้วก็มักจะเก็บภาพไว้ดูส่วนตัวหรือให้ คนรู้จัก หรือเฉพาะคนสนิทดูเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเก็บภาพในอัลบั้มภาพส่วนตัวเป็นการเก็บแบบ สาธารณะซึ่งเปิดให้บุคคลทั่วไปสามารถเยี่ยมชมได้ ซึ่งเป็นความต้องการของเจ้าของอัลบั้มภาพออนไลน์เอง?นราธิปอธิบาย

ขณะ เดียวกันนราธิปยับพบด้วยว่าหลายๆภาพมีฉากเป็นห้องนอน หรือแม้แต่กระทั่งห้องน้ำ ซึ่งน่าจะมาจากการที่ในปัจจุบันเทคโนโลยีสามารถพกพาไปได้ทั้งในพื้นที่ สาธารณะ และพื้นที่ส่วนตัว และบางเทคโนโลยีอย่างเว็บแคมเมร่าซึ่งติดอยู่กับคอมพิวเตอร์ก็มักอยู่ใน บริเวณห้องนอนด้วย ดังนั้น ภาพอาบน้ำในห้องน้ำ หรือภาพถ่ายนอนบนเตียงของตนเองจึงปรากฏด้วยเหตุผลดังกล่าว

เมื่อ ความเป็นส่วนตัวถูกเปลี่ยนผ่านสู่สาธารณะ ตัวตนของคนเหล่านี้จึงได้กลายสภาพเป็นสิ่งที่สาธารณะเช่นกัน หลายๆภาพที่ควรจะเป็นของส่วนตัวจึงกลายเป็นของสาธารณะที่ใครๆก็สามารถใช้ ประโยชน์ได้ ซึ่งต้องไม่ลืมว่าสิ่งที่เป็นสาธารณะย่อมสามารถถูกตีความ สร้างความหมายใหม่ หรือใช้ประโยชน์ได้ โดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้เลยในเมื่อได้สูญเสียความเป็นเจ้าของไปแล้ว ตั้งแต่ภาพได้ไปปรากฏอยู่ในโลกของอินเทอร์เน็ต

?การ แสดงออกในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวย่อมมีความแตกต่างกัน แต่ในเมื่อการแสดงออกในพื้นที่ส่วนตัวสามารถนำเสนอสู่พื้นที่สาธารณะได้ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนพื้นที่สาธารณะอย่างโลกอินเทอร์เน็ตนั้นไม่ต้องคำนึงถึง กฎเกณฑ์การแสดงออกในที่สาธารณะดังเช่นพื้นที่อื่นๆ ดังนั้นความแตกต่างดังกล่าวจึงไม่สำคัญอีกต่อไป? นราธิปได้อธิบายถึงที่มาของปรากฏการณ์ดังกล่าวอย่างชัดเจน

**หรือจะเป็นพื้นที่ทางเลือก
ผล การวิจัยของนราธิปยังวิเคราะห์ด้วยว่า ปรากฏการณ์อัลบั้มภาพออนไลน์ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ทางเลือกของผู้ที่ต้อง การปรากฏตัวต่อสาธารณะ เพราะในอดีตที่ผ่านมาผู้ที่จะปรากฏตัวผ่านสื่อสาธารณะได้จะต้องอาศัยทั้ง รูปร่างหน้าตาที่ดี และมีความรู้ความสามารถ ขณะที่โลกอินเทอร์เน็ตไม่ได้ต้องการถึงขนาดนั้น

ด้วย เหตุดังกล่าว เมื่อมีการเปิดพื้นที่ให้ปรากฏตัวผ่านอัลบั้มภาพออนไลน์ จึงสามารถตอบสนอง ความต้องการของคนที่ต้องการแสดงตัวต่อสาธารณะโดยมีผู้รับชมจำนวนมากและยัง อาจกำหนดขอบเขตผู้รับสารให้แคบลงได้ ด้วยการแบ่งหมวดหมู่ของทางเว็บไซต์ เช่น พนักงานออฟฟิศ คนไทยในต่างประเทศ เป็นต้น

ที่มาจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ